

ดอกเบี้ย สินเชื่อรถยนต์ คำนวณอย่างไร เสียดอกเบี้ยแบบไหน?
การจะขอสินเชื่อรถยนต์สักครั้งในชีวิต แน่นอนว่าการเลือกสินเชื่อรถยนต์มีความสำคัญสำหรับผู้ซื้อรถเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการเช่าซื้อหรือการกู้ยืม และเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับการขอสินเชื่อรถยนต์ในแต่ละครั้งก็คือ “การทำความเข้าใจและรับรู้ถึงผลกระทบของดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อรถยนต์” ดังนั้น วันนี้ เราจะมาพูดทุกเรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ยสินเชื่อรถยนต์ ว่าคำนวณอย่างไร มีแบบไหนบ้าง?
การคำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อรถยนต์ คำนวณกันยังไง?
การคำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อรถยนต์มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับประเภทของดอกเบี้ยที่ใช้ ซึ่งหลักๆ มีสองแบบ คือ ดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) และดอกเบี้ยลดต้นลดดอก (Effective Rate) แต่ละแบบมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกัน ดังนี้
ดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ดอกเบี้ยคงที่จะคำนวณจากยอดเงินกู้ทั้งหมด ไม่ลดลงตามยอดเงินกู้ที่ชำระแล้ว โดยจะคิดดอกเบี้ยเป็นรายปีและคงที่ตลอดอายุสัญญา
สูตรการคำนวณดอกเบี้ยคงที่ : ดอกเบี้ยต่อปี = เงินกู้ × อัตราดอกเบี้ยต่อปี
ตัวอย่างสถานการณ์:
- วงเงินสินเชื่อ: 500,000 บาท
- ระยะเวลาผ่อนชำระ: 48 เดือน (4 ปี)
- อัตราดอกเบี้ยคงที่: 6% ต่อปี
วิธีการคำนวณ:
1. ดอกเบี้ยต่อปี = 500,000 × 6% = 30,000 บาท
2. ดอกเบี้ยรวมตลอดสัญญา = ดอกเบี้ยต่อปี × จำนวนปี = 30,000 × 4 = 120,000 บาท
3. ยอดรวมที่ต้องชำระ = เงินต้น + ดอกเบี้ยรวม = 500,000 + 120,000 = 620,000 บาท
4. ค่างวดต่อเดือน = ยอดรวมที่ต้องชำระ ÷ (จำนวนปี × 12 เดือน) = 620,000 ÷ (4 × 12) = 12,916.67 บาท
สรุป ดอกเบี้ยต่อปีคือ 30,000 บาท ดอกเบี้ยรวมตลอดสัญญาคือ 120,000 บาท ยอดรวมที่ต้องชำระคือ 620,000 บาท และมีค่างวดต่อเดือน 12,916.67 บาท
ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก (Effective Rate) จะคำนวณจากยอดเงินกู้คงเหลือ โดยจะลดลงตามยอดเงินที่ชำระคืนแล้ว
สูตรการคำนวณดอกเบี้ยลดต้นลดดอก : ดอกเบี้ยต่อเดือน = ยอดเงินกู้คงเหลือ × (อัตราดอกเบี้ยต่อปี/12)
ตัวอย่างสถานการณ์:
- เงินกู้: 500,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยต่อปี: 6% (0.06)
- ระยะเวลากู้: 4 ปี (48 เดือน)
สมมติว่าค่างวดคงที่ต่อเดือนคือ 11,715 บาท (คำนวณโดยใช้ฟังก์ชัน PMT ในโปรแกรม Excel)
ตัวอย่างการคำนวณ 3 เดือนแรก:
เดือนที่ 1:
ดอกเบี้ย = 500,000 × (0.06 / 12) = 2,500 บาท
เงินต้นที่ชำระ = 11,715 - 2,500 = 9,215 บาท
ยอดคงเหลือ = 500,000 - 9,215 = 490,785 บาท
เดือนที่ 2:
ดอกเบี้ย = 490,785 × (0.06 / 12) = 2,453.93 บาท
เงินต้นที่ชำระ = 11,715 - 2,453.93 = 9,261.07 บาท
ยอดคงเหลือ = 490,785 - 9,261.07 = 481,523.93 บาท
เดือนที่ 3:
ดอกเบี้ย = 481,523.93 × (0.06 / 12) = 2,407.62 บาท
เงินต้นที่ชำระ = 11,715 - 2,407.62 = 9,307.38 บาท
ยอดคงเหลือ = 481,523.93 - 9,307.38 = 472,216.55 บาท
จะสังเกตุได้ว่าดอกเบี้ยที่จ่ายในแต่ละเดือนจะลดลงเรื่อยๆ, สัดส่วนของเงินต้นที่ชำระในแต่ละงวดจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และยอดเงินกู้คงเหลือจะลดลงเร็วกว่าการคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ วิธีนี้จึงทำให้ผู้กู้จ่ายดอกเบี้ยรวมน้อยกว่าวิธีคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ เนื่องจากดอกเบี้ยจะถูกคำนวณจากยอดเงินกู้คงเหลือซึ่งลดลงทุกเดือน
อะไรที่มีผลต่ออัตราดอกเบี้ย?
อย่างแรกก็คือเรื่องของ ประวัติเครดิต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อรถยนต์ของคุณ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับประวัติเครดิตที่ไม่ดีอาจทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
ต่อมาคือ ระยะเวลาการกู้ยืม ซึ่งมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยเพราะระยะเวลาที่ยาวขึ้นมักจะมีดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ในทางกลับกัน การกู้ยืมเงินในระยะเวลาสั้นอาจทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
และสุดท้ายคือ ประวัติการชำระหนี้ ซึ่งการมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีสามารถช่วยลดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อรถยนต์ของคุณ สถาบันการเงินมักจะมองเห็นผู้ที่ชำระหนี้ตรงเวลาเป็นลูกค้าที่น่าเชื่อถือและมีความสามารถในการจัดการกับการเงินได้ดี
สิ่งที่ควรระวังเมื่อคำนวณดอกเบี้ย
1. ให้ระวังค่าใช้จ่ายที่ซ่อนอยู่ ซึ่งในบางครั้งเรามักจะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้ถูกนำเสนอเมื่อคำนวณดอกเบี้ย ซึ่งอาจรวมถึงค่าประกันภัย ค่าธรรมเนียมการปรับอัตราดอกเบี้ย
2. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรีไฟแนนซ์ ถ้าคุณขอสินเชื่อและทำการผ่อนชำระค่างวดรถยนต์ไปสักระยะหนึ่ง แล้วอยากทำการรีไฟแนนซ์ การรีไฟแนนซ์รถยนต์อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเช่น ค่าธรรมเนียมการรีไฟแนนซ์ ค่าประกันภัยรถยนต์ใหม่ หรือค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ ควรพิจารณาค่าใช้จ่ายเหล่านี้ในการวางแผนการเงิน
3. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับเงื่อนไขการชำระเงิน สิ่งต่อมาที่ควรพิจารณาคือเงื่อนไขการชำระเงิน เช่น การชำระเงินล่วงหน้า หรือการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการชำระเงิน ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้นในระยะยาว
เรื่องที่สำคัญ! ให้หาข้อเสนอที่ดีสุดสำหรับการผ่อนรถ
ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ คุณควรที่จะค้นหาข้อเสนอที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยหรือโปรโมชั่นต่างๆ ที่เหล่าสถาบันการเงินมักจะออกมาเพื่อแข่งขันกัน ซึ่งเราจะได้รับประโยชน์จากการแข่งขันนี้หากเรามีความใส่ใจและเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบพอ
อยากลดดอกเบี้ยรถยนต์ต้องทำอะไร
1. รีไฟแนนซ์รถยนต์ ขอสินเชื่อใหม่กับสถาบันการเงินอื่นที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า และช่วยลดอัตราดอกเบี้ยและยอดผ่อนรายเดือนของคุณ
2. เจรจากับสถาบันการเงินเดิม บางครั้งสถาบันการเงินอาจยินยอมลดดอกเบี้ยให้ หากคุณมีประวัติการผ่อนชำระที่ดี
3. ชำระเงินดาวน์มากขึ้น เนื่องจากเงินกู้จะน้อยลงและความเสี่ยงของสถาบันการเงินจะลดลงด้วย
4. เลือกสินเชื่อแบบลดต้นลดดอก ซึ่งดอกเบี้ยจะคำนวณจากยอดคงเหลือของเงินกู้ หมายความว่าหากคุณชำระเงินมากกว่าขั้นต่ำในแต่ละเดือน ยอดเงินต้นจะลดลงเร็วขึ้นและดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะน้อยลง
5. ปรับปรุงคะแนนเครดิต ทำให้มีโอกาสที่สถาบันการเงินจะลดดอกเบี้ยรถยนต์ให้
สรุป
การคำนวณดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อรถยนต์เป็นกระบวนการที่มีอีกหลายปัจจัยที่มีผล การหาสินเชื่อที่เหมาะสมกับความต้องการและสภาพการเงินของคุณจึงควรทำอย่างละเอียดและรอบคอบ ส่วนใครที่กำลังมองหาสินเชื่อสำหรับรถยนต์ รถตู้ รถกระบะและรถบรรทุก ที่มีความน่าเชื่อถือ บริษัท เงินให้ใจ จำกัด เป็นบริษัทที่ให้บริการสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันลูกค้าสามารถขอใช้บริการได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย ทุกสาขา และศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม คำนวณวงเงินสินเชื่อและสมัครสินเชื่อได้ทันทีที่ เงินให้ใจ
“กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี สินเชื่อจำนำเล่มทะเบียนรถ 12.82% - 24.00% สินเชื่อโอนเล่มทะเบียนรถ แบ่งเป็นกรณีบุคคลธรรมดามีวัตถุประสงค์ใช้รถเพื่อการส่วนตัว 6.08% - 15.00% และกรณีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ใช้รถเพื่อการพาณิชย์ 6.08% - 26.62%”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Website : https://www.ngernhaijai.com/
Line : https://bit.ly/3zDd5Kz
เงินให้ใจ โทร : 02 078 8899
เผยแพร่ 25 ก.ค. 2567
บทความอื่น ๆ

รวมเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้คุณขอสินเชื่อไม่ผ่านสักที
เปิดเผยสาเหตุหลักที่ทำให้สมัครสินเชื่อไม่ผ่าน ทั้งปัญหาหนี้เสีย หนี้เสียบัตรเครดิต พร้อมแนวทางปรับปรุงเพื่อเพิ่มโอกาสผ่านการอนุมัติในครั้งต่อไป
เผยแพร่ 17 เม.ย. 2568

บริหารลูกหนี้แบบมือโปร! เข้าใจลูกหนี้-เจ้าหนี้ในธุรกิจให้ดีขึ้น
รู้เทคนิคการจัดการลูกหนี้อย่างเป็นระบบ ป้องกันหนี้เสียตั้งแต่ต้นทาง และแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง
เผยแพร่ 17 เม.ย. 2568

รู้ก่อนกู้! ธนาคารคิดอย่างไรกับภาระหนี้ของคุณ?
เข้าใจหลักเกณฑ์ที่ธนาคารใช้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ เรียนรู้วิธีเพิ่มโอกาสอนุมัติสินเชื่อรถยนต์
เผยแพร่ 17 เม.ย. 2568