ค่างวดรถยนต์
สินเชื่อรถยนต์

ลูกหนี้ควรรู้! สิทธิ์ลูกหนี้เมื่อค้างค่างวดรถยนต์

บริษัทสินเชื่อ

เป็นลูกหนี้มันไม่ง่าย! เพราะบางครั้งค่าใช้จ่ายจำเป็นต่างๆ ที่ต้องจ่ายออกไปมีมากมายจนอาจทำให้สภาพคล่องทางการเงินของหลายคนติดขัด ส่งผลให้ไม่สามารถชำระค่างวดหนี้ต่างๆ ได้ตรงเวลา ซึ่งถ้าหากคุณประสบปัญหาทางการเงินจนไม่สามารถจ่ายค่างวดตรงเวลาได้ วันนี้ เงินให้ใจจะมารวบรวมรายละเอียดสิทธิ์ของลูกหนี้และการทวงถามหนี้มาเล่าให้ทุกๆ ท่านได้รับรู้ข้อมูลที่ครบถ้วนกัน

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเราค้างค่างวดรถยนต์?

1. ค่าปรับและดอกเบี้ยผิดนัดชำระ บริษัทผู้ให้สินเชื่อจะคิดค่าปรับและดอกเบี้ยผิดนัดสำหรับยอดค้างชำระ ซึ่งจะทำให้หนี้สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ

2. การถูกติดตามทวงถาม บริษัทผู้ให้สินเชื่อจะติดต่อทวงถามให้ชำระหนี้ผ่านช่องทางต่างๆ หรือผ่านบริษัทที่ทางบริษัทได้มอบอำนาจให้ทวงถามหนี้แทน

3. การบันทึกประวัติเครดิตให้เป็นบุคคลผิดนัดชำระ บริษัทจะมีการนำส่งข้อมูลให้การค้างชำระให้กับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ส่งผลให้ประวัติเครดิตเสียหาย

4. การถูกดำเนินคดี/ฟ้องร้อง หากค้างชำระเป็นระยะเวลานาน บริษัทอาจดำเนินการฟ้องร้องคดีเพื่อเรียกเก็บหนี้

5. การติดตามรับรถ หากค้างชำระเป็นจำนวนงวดติดต่อกันตามระยะเวลาที่กำหนด บริษัทมีสิทธิ์ติดตามรับรถคืนตามเงื่อนไขสัญญา

ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหารุนแรงในระหว่างที่เรามีปัญหาด้านการเงินและมองเห็นแล้วว่าอย่างไรก็ไม่สามารถนำเงินมาชำระค่างวดสินเชื่อรถยนต์ได้ทันแน่ๆ ให้รีบพยายามติดต่อบริษัทสินเชื่ออย่างรวดเร็วที่สุดเพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลาย และหาแนวทางแก้ไขใหม่ร่วมกัน

ค้างค่างวดนานแค่ไหนถึงจะถูกยึดรถ? 

โดยทั่วไปแล้ว หากค้างชำระค่างวด 3-4 งวดติดต่อกัน บริษัทผู้ให้สินเชื่อจะเริ่มบอกเลิกสัญญาและดำเนินการติดตามรับรถคืน แต่ระยะเวลาก่อนยึดรถอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท บางบริษัทอาจให้โอกาสถึง 6 งวดก็ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา

ซึ่งหากเราค้างชำระค่างวดไปนาน แนะนำให้ติดต่อประสานงานกับบริษัทสินเชื่อโดยเร็ว เพื่อหาทางออกร่วมกัน เช่น ขอผ่อนผันการชำระ หรือปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ การรักษาสัมพันธภาพที่ดีและการสื่อสารจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผลที่รุนแรงได้

สิทธิ์ลูกหนี้ควรรู้! เป็นลูกหนี้มีสิทธิ์อะไรบ้าง? 

นอกจากการกู้ยืมและทำสัญญากับบริษัทผู้ให้สินเชื่อแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีข้อมูลสิทธิ์ลูกหนี้ที่ควรรู้ทั้ง 3 ข้อไม่ว่าจะเป็นด้านข้อมูล สัญญาและการถูกทวงหนี้ 

1. ลูกหนี้มีสิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยก่อนทำสัญญาสินเชื่อ ลูกหนี้มีสิทธิได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน ชัดเจน และถูกต้องเกี่ยวกับจำนวนวงเงิน อัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ต้องชำระ ระยะเวลาและจำนวนงวดการผ่อนชำระ เงื่อนไขและข้อกำหนดสำคัญอื่นๆ ในสัญญา

และระหว่างการผ่อนชำระหนี้ ลูกหนี้มีสิทธิขอข้อมูลยอดหนี้คงเหลือ ณ เวลาใดก็ได้ รายละเอียดการชำระเงินในแต่ละงวด จำนวนดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ถูกเรียกเก็บ และการคำนวณยอดชำระแต่ละงวด

และกรณีที่เกิดข้อโต้แย้ง ลูกหนี้มีสิทธิขอให้ผู้ให้สินเชื่อแสดงหลักฐานการคำนวณต่างๆ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง 

2. ลูกหนี้มีสิทธิ์ที่จะได้รับสัญญาสินเชื่อและใบเสร็จรับเงิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.1 สัญญาสินเชื่อ ลูกหนี้มีสิทธิ์ได้รับคู่ฉบับสัญญาสินเชื่อจากผู้ให้สินเชื่อทุกครั้งที่ทำสัญญา โดยที่สัญญานั้นต้องระบุรายละเอียดสำคัญ เช่น จำนวนวงเงิน อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อนชำระ เงื่อนไขและข้อกำหนดต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน 

2.2 ใบเสร็จรับเงิน ทุกครั้งที่ลูกหนี้ชำระค่างวดหรือจำนวนเงินใดๆ ให้แก่ผู้ให้สินเชื่อ ลูกหนี้มีสิทธิ์ได้รับใบเสร็จรับเงิน โดยใบเสร็จต้องระบุรายละเอียดต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งใบเสร็จจะเป็นหลักฐานสำคัญในการอ้างอิงหากเกิดข้อโต้แย้งในอนาคต

3. ลูกหนี้มีสิทธิ์ที่จะถูกทวงหนี้อย่างมีมาตรฐาน การทวงถามหนี้ต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินสมควร และลูกหนี้ต้องไม่ถูกข่มขู่ ดูหมิ่น หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคล อีกทั้งการทวงหนี้จากผู้ให้สินเชื่อต้องอยู่ภายใต้กรอบของพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้

ทวงหนี้แบบไหนที่เรียกว่า ‘ผิดกฎหมาย?’

ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ได้กำหนดขอบเขตและวิธีการที่บริษัทสินเชื่อสามารถทวงหนี้ได้ ดังนี้

- ห้ามใช้วาจาหยาบคาย ดูหมิ่น ข่มขู่ หรือกระทำการใดๆ ที่เป็นการรบกวนสิทธิส่วนบุคคล

- สามารถทวงถามหนี้ได้ใน ระหว่างเวลา 08.00 - 20.00 น. และวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 08.00 - 18.00 น.

- ห้ามเปิดเผยข้อมูลการเป็นหนี้ให้บุคคลอื่นทราบ เว้นแต่เป็นบุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้

- ทวงถามหนี้ได้ไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน

- ห้ามไปทวงถามหนี้ที่สถานที่ทำงาน หากเป็นการรบกวนต่อการปฏิบัติงาน และเป็นการเปิดเผยความเป็นหนี้ให้ผู้อื่นทราบ

ถูกทวงหนี้โหด ละเมิดสิทธิ์ลูกหนี้ ทำอย่างไรดี? 

สำหรับใครที่ค้างค่างวดรถ กำลังถูกทวงหนี้โดยวิธีการที่รุนแรง หยาบคาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด มีแนวทางปฏิบัติอยู่ 5 ข้อด้วยกัน

1. ทำการเก็บหลักฐาน อย่างเช่น บันทึกเสียง ภาพถ่าย ข้อความ ที่แสดงถึงการทวงหนี้โดยมิชอบ เพื่อใช้เป็นหลักฐานสนับสนุน

2. แจ้งเตือนผู้ทวงหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร ว่าการกระทำนั้นเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ และให้ระงับการกระทำดังกล่าว

3. ร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย

4. หากไม่ได้รับการแก้ไข สามารถดำเนินคดีกับผู้ทวงหนี้ต่อศาล 

5. แจ้งความร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีถูกข่มขู่หรือถูกทำร้ายร่างกาย เพื่อดำเนินคดีอาญาได้

สรุป

ในสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้ การส่งค่างวดรถไม่ไหวอาจเป็นเรื่องที่หลายคนกำลังประสบพบเจอและกังวลใจ แต่ถ้าหากคุณมีการวางแผนและการใช้วิธีการแก้ไขที่เหมาะสม คุณก็จะสามารถจัดการกับปัญหานี้ได้ 

สำหรับใครที่ต้องการเงินด่วน สินเชื่อรถแลกเงินเป็นหนึ่งในคำตอบและวิธีการที่ดีที่สุดของคุณ กับเงินให้ใจที่มีความน่าเชื่อถือ บริษัท เงินให้ใจ จำกัด เป็นบริษัทที่ให้บริการสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันลูกค้าสามารถขอใช้บริการได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย ทุกสาขา และศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม คำนวณวงเงินสินเชื่อและสมัครสินเชื่อได้ทันทีที่ เงินให้ใจ

“กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี สินเชื่อจำนำเล่มทะเบียนรถ 12.82% - 24.00% สินเชื่อโอนเล่มทะเบียนรถ แบ่งเป็นกรณีบุคคลธรรมดามีวัตถุประสงค์ใช้รถเพื่อการส่วนตัว 6.08% - 15.00% และกรณีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ใช้รถเพื่อการพาณิชย์ 6.08% - 26.62%”

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Website : https://www.ngernhaijai.com/

Line : https://bit.ly/3zDd5Kz

เงินให้ใจ โทร : 02 078 8899

เผยแพร่ 25 ก.ค. 2567

บทความอื่น ๆ

สมัครสินเชื่อไม่ผ่าน

รวมเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้คุณขอสินเชื่อไม่ผ่านสักที

เปิดเผยสาเหตุหลักที่ทำให้สมัครสินเชื่อไม่ผ่าน ทั้งปัญหาหนี้เสีย หนี้เสียบัตรเครดิต พร้อมแนวทางปรับปรุงเพื่อเพิ่มโอกาสผ่านการอนุมัติในครั้งต่อไป

เผยแพร่ 17 เม.ย. 2568

ลูกหนี้

บริหารลูกหนี้แบบมือโปร! เข้าใจลูกหนี้-เจ้าหนี้ในธุรกิจให้ดีขึ้น

รู้เทคนิคการจัดการลูกหนี้อย่างเป็นระบบ ป้องกันหนี้เสียตั้งแต่ต้นทาง และแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง

เผยแพร่ 17 เม.ย. 2568

สินเชื่อรถยนต์

รู้ก่อนกู้! ธนาคารคิดอย่างไรกับภาระหนี้ของคุณ?

เข้าใจหลักเกณฑ์ที่ธนาคารใช้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ เรียนรู้วิธีเพิ่มโอกาสอนุมัติสินเชื่อรถยนต์

เผยแพร่ 17 เม.ย. 2568